วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553



กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดกาแฟคั่วซึ่งได้จากต้นกาแฟ นิยมดื่มร้อน ๆ แต่สามารถดื่มแบบเย็นได้ด้วย บางครั้งนิยมใส่นมหรือครีมลงในกาแฟด้วย ในกาแฟหนึ่งถ้วยมีคาเฟอีนอยู่ประมาณ 80-140 มิลลิกรัม กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับชาและน้ำ นอกจากนี้ กาแฟยังเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีการส่งออกมากเป็นอันดับที่หกของโลกเชื่อกันว่ากาแฟถูกค้นพบครั้งแรกโดยเด็กเลี้ยงแพะชาวอาบิสซีเนีย (ประเทศเอธิโอเปียในปัจจุบัน) ชื่อคาลดี จากการสังเกตพบว่า แพะดูกระปรี้กระเปร่าขึ้นเมื่อกินผลไม้สีแดงของต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งก็คือต้นกาแฟนั่นเอง. ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 16 กาแฟถูกปลูกโดยชาวอาหรับเท่านั้น คำว่ากาแฟ เป็นคำที่มาจากคำว่า "เกาะหฺวะหฺ" ในภาษาอาหรับ แล้วเพี้ยนเป็น กาห์เวห์ ในภาษาตุรกี ก่อนที่จะกลายเป็น คอฟฟี ในภาษาอังกฤษ และกาแฟ ในภาษาไทย ชาวอาหรับหวงแหนพันธุ์กาแฟมาก จึงส่งออกเฉพาะเมล็ดกาแฟที่คั่วสุกแล้วเท่านั้น แต่ในที่สุดเมล็ดกาแฟก็ออกมาสู่โลกกว้าง โดยการลักลอบนำออกมาโดยชาวอินเดียที่ไปแสวงบุญที่เมกกะ และก็ได้แพร่ขยายไปยังชวา เนเธอร์แลนด์ และทั่วยุโรปในที่สุด. สำหรับทวีปอเมริกานั้น ต้นกาแฟถูกนำไปอย่างยากลำบาก โดยทหารเรือฝรั่งเศสในต้นศตวรรษที่ 18 ในครั้งแรกนั้น มีต้นกาแฟที่เหลือรอดชีวิตบนเรือมาขึ้นฝั่งอเมริกาได้เพียง 1 ต้น และก็ได้แพร่ขยายเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันดินแดนแห่งนี้ ได้กลายเป็นดินแดนที่ปลูกกาแฟมากที่สุดในโลก ชนิดของเมล็ดกาแฟ
กาแฟมีมากกว่า 6,000 พันธุ์ แต่พันธุ์หลัก ๆ ที่ได้รับความนิยมมี 2 พันธุ์ ได้แก่ อาราบิก้า (Arabica) ซึ่งเป็นกาแฟแบบดั้งเดิม และมีรสชาติดี และ โรบัสต้า (Robusta) ซึ่งมีปริมาณกาเฟอีนสูง และสามารถปลูกในที่ที่ปลูกอาราบิก้าไม่ได้ (คำว่า robust ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ทนทาน) ด้วยความที่มีความทนทานมากกว่านี้เอง จึงทำให้กาแพโรบัสต้ามีราคาถูกกว่า แต่ผู้คนนิยมดื่มไม่มากนักเนื่องจากมีรสขมและเปรี้ยว ส่วนโรบัสต้าที่มีคุณภาพดีมักถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมของเอสเพรสโซ่ แบบผสม (เอสเพรสโซ่มีสองแบบใหญ่ ๆ คือแบบที่เป็นอาราบิก้าแท้ ๆ กับแบบที่ผสมกาแฟชนิดอื่น ๆ)กาแฟอาราบิก้ามักจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามชื่อท่าเรือที่ใช้ส่งออก ท่าเรือที่เก่าแก่ที่สุดสองที่ได้แก่ ม็อคค่า (Mocha) และ ชวา (Java) กาแฟในปัจจุบันยิ่งมีความเจาะจงในที่ปลูกมากขึ้นเรื่อย ๆ ต้องมีการระบุถึงประเทศ ภูมิภาค และบางครั้งต้องบอกว่าปลูกที่พื้นที่บริเวณไหนเลยทีเดียว ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกาแฟอาจจะถึงกับต้องประมูลกาแฟกัน โดยดูว่าเป็นล็อตหมายเลขเท่าใด กาแฟชนิดโรบัสต้าที่มีมูลค่าสูงที่สุดชนิดหนึ่งได้แก่ โกปิ ลูวัค (Kopi Luwak) ของอินโดนีเซีย เมล็ดของกาแฟชนิดนี้ถูกเก็บขึ้นมาจากมูลของชะมด (Common Palm Civet) (ตระกูล Paradoxirus)ซึ่งกระบวนการย่อยภายในร่างกายชะมดทำให้ได้รสชาติที่ดีเป็นพิเศษ เรียกเป็นภาษาไทยว่า กาแฟขี้ชะมด
กาแฟประเภทต่างๆ กาแฟดำ ชงด้วยวิธีการหยดน้ำ อาจเป็นแบบให้น้ำซึมหรือแบบเฟรนช์เพรส เสิร์ฟโดยไม่ใส่นม อาจเติมน้ำตาลได้ ผู้คนมักเข้าใจผิดว่ากาแฟดำกับเอสเพรสโซเป็นอย่างเดียวกัน แต่ที่จริงแล้วกาแฟทั้งสองชนิดมีข้อแตกต่างกันหลายข้อ ข้อที่สำคัญคือ ถ้วยเสิร์ฟของเอสเพรสโซมีขนาดเล็กกว่า เพราะนิยมดื่มให้หมดในอึกเดียว ปกติแล้วเอสเพรสโซจะไม่ใส่น้ำตาลหรือนม และไม่นิยมคน เอสเพรสโซที่ชงถูกวิธีจะต้องมีฟองสีทองลอยอยู่ด้านบน รสชาติของเอสเพรสโซจะติดปากหลังจากดื่มนานกว่า (15-30 นาที) กาแฟขาว (White coffee) เป็นกาแฟที่เติมนมเข้าไปหลังจากทำเสร็จ อาจเติมน้ำตาลด้วยก็ได้ คาปูชิโน ประกอบด้วยเอสเพรสโซ, นมร้อน, และฟองนม ในสัดส่วนเท่าๆ กัน ให้รวมมีปริมาตร 4.5 ออนซ์ (เสิร์ฟในถ้วยขนาด 5 ออนซ์) ปกติจะตกแต่งด้วยผงอบเชย ลูกจันทน์เทศ (nutmeg) หรือโกโก้ ลาเต้ เป็นเอสเพรสโซผสมนมร้อน ปกติมักโปะข้างบนด้วยฟองนม ความเข้มข้นไม่มากเท่าคาปูชิโนเนื่องจากใส่นมเยอะกว่า (ลาเต้ เป็นภาษาอิตาลีแปลว่านม ในอิตาลีเรียกลาเต้ว่า Caffè e latte หรือ caffelatte) Café au lait คล้ายลาเต้ยกเว้นใช้การชงด้วยการหยดแทนเอสเพรสโซ พร้อมด้วยนมในปริมาณที่เท่าๆ กัน อาจเติมน้ำตาลตามชอบ อเมริกาโน ทำจากเอสเพรสโซ (หลายๆ ช็อต) กับน้ำร้อน เพื่อให้มีความเข้มข้นเท่ากับกาแฟที่ได้จากการชงแบบหยด แต่มีรสชาติต่างกัน กาแฟเย็น มักเสิร์ฟพร้อมนมกับน้ำตาล กาแฟแต่งกลิ่นและรส (Flavoured coffee) บางสังคมมักนิยมแต่งกลิ่นและรสกาแฟ ช็อกโกแลตเป็นสิ่งหนึ่งที่นิยมเติมกัน อาจโดยการโรยข้างบน หรือผสมเข้ากับกาแฟ เพื่อเลียนแบบรสชาติของมอคค่า รสอื่นๆ ที่นิยมเติมได้แก่เครื่องเทศต่างๆ เช่น อบเชย, ลูกจันทน์เทศ (nutmeg), กระวาน, และน้ำเชื่อมอิตาเลียน (Italian syrups) กาแฟไอริช คือกาแฟที่ชงแล้วผสมด้วยวิสกี้ และมีชั้นของครีมอยู่ข้างบน กาแฟกรองอินเดีย (มัทราส) (Indian (Madras) filter coffee) นิยมทั่วไปทางภาคใต้ของอินเดีย ทำจากกากกาแฟหยาบๆ ที่ได้จากเมล็ดที่ถูกอบจนไหม้ (อาราบิกา, พีเบอร์รี (PeaBerry)) ชงด้วยวิธีหยดประมาณสองถึงสามชั่วโมง ในตัวกรองโลหะแบบของอินเดียโดยเฉพาะ ก่อนที่จะนำไปเสิร์ฟกับนมและน้ำตาล โดยปกติมักมีสัดส่วนกาแฟหนึ่งนมสาม กาแฟสไตล์เวียดนาม เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้จากการชงแบบหยด ชงโดยการหยดน้ำผ่านตะแกรงโลหะลงไปในถ้วย ซึ่งมีผลให้ได้น้ำกาแฟเข้มข้น จากนั้นนำไปเทผ่านน้ำแข็งลงไปในแก้วที่เติมนมข้นหวานไว้ก่อนแล้ว เนื่องจากการชงกาแฟประเภทนี้ใช้กากกาแฟปริมาณมาก จึงทำให้การชงกินระยะเวลานาน กาแฟกรีก หรือ กาแฟตุรกี ชงด้วยการต้มกากกาแฟละเอียดกับน้ำพร้อมกันในไอบริก ซึ่งเป็นหม้อทำจากทองเหลืองหรือทองแดงมีด้ามยาวและเปิดด้านบน เมื่อชงเสร็จ ก็จะนำไปรินลงในด้วยเล็กๆ โดยไม่กรองกากกาแฟออก ตั้งกาแฟทิ้งไว้สักพักก่อนดื่ม มักเติมเครื่องเทศและน้ำตาลด้วย โกปิทูบรูค (Kopi tubruk) เป็นกาแฟสไตล์อินโดนีเซียลักษณะเหมือนกับกาแฟกรีก แต่ชงจากเมล็ดกาแฟหยาบ และต้มพร้อมกับน้ำตาลปอนด์ปึกใหญ่ๆ นิยมดื่มในชวา, บาหลี, และบริเวณใกล้เคียง หม้อกาแฟ มีหลายรูปลักษณ์และขนาด หม้อแบบดั้งเดิมที่ใช้ต้มกาแฟมีคาเฟอีนจะมีสีน้ำตาลหรือดำ ส่วนหม้อสีส้มใช้สำหรับต้มกาแฟไร้คาเฟอีน คุณประโยชน์กาแฟช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของตัวระงับความเจ็บปวด โดยเฉพาะในการรักษาไมเกรน และยังสามารถกำจัดโรคหืดในผู้ป่วยบางคนได้ด้วย คุณประโยชน์บางอย่างอาจส่งผลต่อเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น มันได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยลดการฆ่าตัวตายในผู้หญิง และช่วยป้องกันนิ่วและโรคถุงน้ำดีในผู้ชาย นอกจากนี้มันยังช่วยลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานในทั้งสองเพศ และลดเพียงประมาณ 30% ในผู้หญิง แต่ลดมากกว่า 50% ในผู้ชาย กาแฟยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคตับแข็งและป้องกันมะเร็งในปลายลำไส้ใหญ่และกระเพาะปัสสาวะ กาแฟสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในเซลล์ตับ ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของมะเร็งตับ (Inoue, 2005) และสุดท้ายกาแฟช่วยลดโอกาสเกิดโรคหัวใจ ถึงแม้จะยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เป็นเพราะมันกำจัดไขมันในเส้นเลือด หรือเพราะว่ามันเป็นมีผลกระตุ้นกันแน่ ยังมีข้อดีอื่น ๆ ที่เป็นเหตุผลให้คนส่วนใหญ่นิยมดื่มกาแฟ เช่น มันช่วยเพิ่มความจำระยะสั้น และเพิ่มไอคิว นอกจากนี้ยังช่วยเปลี่ยนระบบเมตาบอลิซึมให้มีสัดส่วนของลิพิดต่อคาร์โบไฮเดรตที่ถูกเผาผลาญสูงขึ้น ซึ่งช่วยลดอาการล้ากล้ามเนื้อของนักกีฬาคุณประโยชน์เหล่านี้บางอย่างจะได้ผลเมื่อดื่มเพียงประมาณ 4 ถ้วยต่อวัน (24 ออนซ์) แต่บางอย่างก็ต้องดื่มถึง 6 ถ้วยหรือมากกว่านั้น (32 ออนซ์หรือมากกว่า)ความเสี่ยงผู้ที่ดื่มกาแฟหลายคนคงคุ้นเคยดีกับอาการ"ใจสั่น"อันเกิดมาจากกาแฟ ซึ่งเป็นอาการกระวนกระวายที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับคาเฟอีนมากเกินไป กาแฟยังเพิ่มความดันโลหิตให้กับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ผลการศึกษาเพิ่มเติมก็ยังแสดงให้เห็นว่ามันช่วยลดอัตราเสี่ยงโดยรวมในการเกิดโรคหัวใจด้วย กาแฟยังทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับในบางคน แต่ในทางกลับกันก็ช่วยให้บางคนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนี้มันยังอาจทำให้เกิดความกังวลและอาการหงุดหงิดง่ายให้กับบางคนที่ดื่มมากเกินไป และบางคนก็เกิดอาการทางประสาท ผลกระทบบางอย่างของกาแฟก็เกิดขึ้นกับเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น มันทำให้อาการป่วยเลวร้ายลงในกรณีของผู้ป่วยประเภท PMS และยังลดความสามารถในการมีบุตรของสตรี และยังอาจเพิ่มอัตรเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุนของผู้หญิงหลังวัยหมดระดู และยังอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์หากแม่ดื่มตั้งแต่ 8 ถ้วยต่อวันขึ้นไป (48 ออนซ์ขึ้นไป)ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ในประเทศเดนมาร์กได้มีการศึกษาสตรีจำนวน 18,478 คนซึ่งดื่มกาแฟเป็นปริมาณมากระหว่างตั้งครรภ์ พบว่ามันส่งผลให้อัตราเสี่ยงของการตายของทารกหลังคลอดเพิ่มขึ้นอย่างมาก (แต่ไม่มีผลกระทบต่ออัตราการตายในปีแรกของทารก) ในรายงานระบุว่า "ผลการศึกษาบ่งชี้ถึงผลกระทบจากการดื่มตั้งแต่ 4 ถึง 7 ถ้วยต่อวัน" คนที่ดื่ม 8 ถ้วยต่อวันขึ้นไป (48 ออนซ์ขึ้นไป) จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถึง 220% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ดื่ม การศึกษานี้ยังไม่ได้มีการทำซ้ำให้แน่ใจ แต่ก็ทำให้แพทย์หลาย ๆ คนเพิ่มความระมัดระวังต่อการดื่มกาแฟมากเกินไปของสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ ผลการศึกษาตีพิมพ์ปี พ.ศ. 2547 ใน American Journal of Clinical Nutrition [2] พยายามค้นหาว่าทำไมประโยชน์และโทษของกาแฟจึงได้ดูขัดกันเอง และได้ค้นพบว่าการดื่มกาแฟมีความเกี่ยวข้องกับการปรากฏชัดทางชีวเคมีของอาการอักเสบและเป็นผลกระทบที่รุนแรงของกาแฟต่อระบบหัวใจร่วมหลอดเลือด ซึ่งเป็นตัวอธิบายว่าทำไมกาแฟจึงได้มีผลดีต่อหัวใจเมื่อดื่มไม่เกินวันละ 4 ถ้วยเท่านั้น (ไม่เกิน 20 ออนซ์) คาเฟอีนเป็นเหมือนยาพิษหากเสพมากเกินไป อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ใช่ยาพิษหากดื่มแบบปกติ แต่หากเสพในรูปเข้มข้น เช่น เป็นเม็ดหรือเป็นผง ในปริมาณที่มากพอ ก็อาจทำให้อาเจียน, หมดสติ, และอาจถึงขั้น

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน






เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน (โปรตุเกส: Fernão de Magalhães, สเปน: Fernando de Magallanes , อังกฤษ: Ferdinand Magellan ประมาณ พ.ศ. 2023-2064) เป็นนักเดินเรือ เกิดที่เมืองซาโบรซาหรือโปร์ตู ประเทศโปรตุเกส หลังรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและที่โมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับประเทศสเปน มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซวิลล์ในปี พ.ศ. 2062 เลาะไปตามชายฝั่งของ อเมริกาใต้ (แหลมเวอร์จิ้น) จนถึงมหาสมุทรที่มาเจลลันตั้งชื่อว่า "แปซิฟิก" ในปี พ.ศ. 2063

เส้นทางเดินเรือรอบโลกของมาเจลลัน
แมกเจลแลนถูกฆ่าตายใน
ฟิลิปปินส์ แต่เรือของเขาก็ได้เดินทางกลับไปถึงสเปนในปี พ.ศ. 2065 ซึ่งเป็นการบรรจบรอบของการเดินทางรอบโลกเป็นครั้งแรก ชื่อของช่องแคบมาเจลลันเป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา



เฟอร์ดินันด์ แมกเจลลัน มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยของ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช) สมัยอยุธยา














วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วิธีรักษาผิวหน้า

สูตรที่ 1 พอกหน้าด้วยมะเขือเทศ จากประเทศญี่ปุ่น
วิธีทำ เริ่มด้วยการฝานมะเขือเทศ 1 ชิ้นหนาๆ ถูให้ทั่วใบหน้าและลำคอเบาๆ ตรงบริเวณที่มีสิวเสี้ยน มะเขือเทศมีวิตามินซี และกรด AHA จะช่วยลอกผิวหน้าที่ตายแล้วให้หลุดออกได้ หลังจากนั้นจึงค่อยใช้สำลีชุบน้ำเย็น เช็ดมะเขือเทศออกให้สะอาด
สูตรที่ 2 พอกหน้าด้วยไข่ขาว จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์
วิธีทำ ตอกไข่ไก่ 1 ฟอง แยกไข่แดงออกเทเฉพาะไข่ขาวลงในถ้วย ใช้ส้อมตีไข่ขาวจนเป็นฟองพอสมควร แล้วใช้แปรงขนนุ่ม จุ่มไข่ขาวทาให้ทั่วใบหน้าและลำคอ ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที จนไข่ขาวเริ่มจับตัวแข็ง แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็น
สูตรที่ 3 พอกหน้าด้วยน้ำผึ้ง จากประเทศสเปน
วิธีทำ เริ่มจากล้างหน้าให้สะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง จากนั้นใช้ปลายนิ้วแตะน้ำผึ้งลูบไล้บนใบหน้าและลำคอเบาๆ สักครู่ แล้วนวดหน้าด้วยปลายนิ้วอย่างแผ่วเบาประมาณ 5 นาที จนน้ำผึ้งเหนียว นวดต่อไปไม่ได้แล้ว ก็ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที ระหว่างนั้นให้นอนพักศีรษะอยู่ต่ำกว่าระดับปลายเท้า เพื่อให้เลือดไหลมาหล่อเลี้ยงที่ใบหน้าและลำคอได้สะดวกยิ่งขึ้น เมื่อครบเวลาแล้วก็ค่อยๆ ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดน้ำผึ้งออกให้สะอาด
สูตรที่ 4 พอกหน้าด้วยแอปเปิล จากประเทศเบลเยียม
วิธีทำ ปอกแอปเปิลแล้วคว้านเอาไส้และเมล็ดออก จากนั้นบดให้ละเอียด ขณะที่บดให้ผสมน้ำผึ้งลงไปด้วย เมื่อบดจนเข้ากันดีแล้ว นำเอาส่วนผสมนี้มาพอกหน้าทิ้งไว้ 20 นาที แล้วใช้นมสดเย็นๆ ล้างออก
สูตรที่ 5 พอกหน้าด้วยนมเปรี้ยว จากประเทศรัสเซีย
วิธีทำ สำหรับผู้ที่มีผิวหน้ามัน ล้างหน้าให้สะอาดก่อนจะเอานมเปรี้ยวที่แช่เย็นจัดพอกหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีหรือนานกว่านั้น แล้วใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ เช็ดออก ตำรานี้จะใช้ได้ผลดีมากในหน้าร้อน เพราะจะช่วยให้ใบหน้าที่ซีดเซียวกลับเปล่งปลั่งขึ้นได้
สูตรที่ 6 พอกหน้าด้วยแตงโม จากประเทศตุรกี
วิธีทำ จัดการฝานแตงโมเป็นชิ้นบางๆ จากส่วนที่แดงที่สุด นำมาแปะให้ทั่วใบหน้า แล้วใช้ผ้าขาวบางคลุมหน้าไว้ ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็น


สูตรที่ 7 พอกหน้าด้วยน้ำมะนาวและน้ำผึ้ง จากประเทศฝรั่งเศส
วิธีทำ ด้วยการผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำมะนาว 1 ช้อนชา คนให้เข้ากัน แล้วนำมาทาให้ทั่วทั้งใบหน้าและลำคอ ทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)


ซิกมันด์ ฟรอยด์ ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งจิตวิทยา
เขาเกิดวันที่ 6 พฤษภาคม 1856 ในครอบครัวที่มีอาชีพขายขนสัตว์ เมื่ออายุได้ 4 ขวบ ครอบครัวก็ได้ย้ายจากเชโกสโลวะเกียไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
ฟรอยด์ชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก จึงทำให้เขาฉลาดและสอบได้ที่ 1 ทุกครั้ง เมื่ออายุได้ 17 ปี เขาสอบเข้าศึกษาต่อวิชาแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งกรุงเวียนนาได้ หลังจากเรียนจบเขาได้ค้นคว้าต่อทางด้านเซลล์สมอง และได้ไปศึกษาเกี่ยวกับโรคทางสมองและประสาทที่กรุงปารีสกับชาร์โก ซึ่งเป็นหมอรักษาคนไข้ที่เป็นอัมพาตอยู่นั่น ปรอยด์ได้พบว่าคนไข้บางรายป่วยเป็นอัมพาตเนื่องจากภาวะทางจิตใจไม่ใช่ทางร่างกาย เมื่อกลับมายังกรุงเวียนนา เขาตัดสินใจทำงานเป็นแพทย์ทางด้านสมองและประสาท และแต่งงานกับมาร์ธา เบิร์นเนย์ จนมีลูกด้วยกันถึง 6 คน
ฟรอยด์ได้พบคนไข้ที่เป็นอัมพาตเนื่องจากปัญหาทางจิตใจหลายราย เขาจึงใช้วิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ คือให้ผู้ป่วยเล่าถึงความคับข้องใจหรือความหวาดกลัวและพยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุการณ์นั้น เพื่อลดความขัดแย้งในใจ ปรากฎว่ามีผู้ป่วยหลายรายหายจากการอัมพาตเมื่อรักษาด้วยวิธีนี้
ในตอนแรก มีผู้คัดค้านไม่ยอมรับ แต่ฟรอยด์ก็ได้ศึกษาและทดลอง จนผลงานของเขาเป็นที่ยอมรับทั่วไปในปี 1930
ฟรอยด์เป็นทั้งแพทย์และนักจิตวิทยา เป็นผู้บุกเบิกการศึกษาทางด้านจิตวิทยา ทฤษฎีต่างๆ ของเขาที่ค้นพบยังคงนำมาใช้รักษาโรคทางจิตอยู่ทุกวันนี้ เช่น ทฤษฎีบุคคลิกภาพแบบจิตวิเคราะห์ ซึ่งกล่าวว่า พลังจิตใต้สำนึกมีผลต่อพฤติกรรมของแต่ละบุคคล และจำแนกบุคคลให้แตกต่างกัน
ในปี 1938 กองทัพนาซีของเยอรมัน เข้ายึดครองออสเตรีย ฟรอยด์ต้องหลบหนีไปอยู่ที่อังกฤษและถึงแก่กรรมในวันที่ 27 สิงหาคม 1939 ด้วยโรคมะเร็งและมีอายุได้ 83 ปี
ฟรอยด์เชื่อว่าจิตประกอบด้วยพลังจิต 3 ส่วนคือ
อิด (Id) = เป็นแรงขับให้เกิดความต้องการ เช่น ความหิว ความรัก เป็นต้นอีโก
(Ego) = เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ตัดสินใจซูเปอร์อีโก
(Super Ego) = เป็นส่วนที่ได้รับการอบรมแล้ว รู้จักรับผิดชอบ รู้จักควบคุมอารมณ์และความรู้สึก