วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

สัญญาประชาคม


จอห์น ล็อก*

สัญญาประชาคม” เป็นหนึ่งในวิธีการอธิบายว่าทำไมมนุษย์ถึงต้องมาอยู่ร่วมกันเป็น “รัฐ” (ในงานจะใช้คำว่า คอมมอนเวลท์) โดยหลักแล้ว ในหลักการนี้จะอธิบายว่า เพราะมนุษย์ทำความตกลงกัน ว่าจะอยู่ร่วมกัน รัฐ(คอมมอนเวลท์) การปกครอง ผู้ปกครอง และกฎหมายจึงเกิดขึ้น

ธรรมชาติของมนุษย์และโลกก่อนมีสัญญาประชาคม

มนุษย์เป็นคนดี มีเหตุผล มีเสรีภาพเต็มที่ และมีสิทธิ์ในทรัพย์สินของตน เมื่อทรัพย์สินนั้นเกิดจากแรงงานของเขา

ทำไมต้องทำสัญญาประชาคม?

เพราะเมื่อเกิดข้อพิพาทจะไม่มีใครตัดสินถูกผิดได้ เพราะทุกคนมีเหตุผลของตน เมื่อแย่งทรัพย์สินจะไม่มีใครบอกได้ว่าใครถูกใครผิด มนุษย์จึงไม่อาจรักษาทรัพย์สินของตัวเองไว้ได้ จึงต้องทำสัญญากัน ตั้งกฎหมาย ตั้งผู้ตัดสิน เพื่อรักษาทรัพย์สินของตัวเอง

ใครคือผู้มีอำนาจอธิปไตย

อำนาจอธิปไตยเกิดจากเสียงส่วนใหญ่ การออกกฎหมายเปิดจากการเห็นพ้องต้องกัน ดังนั้นทุกคนจึงยอมรับกฎหมาย รัฐเป็หน่วยเดียวที่เคลื่อนไหวตามความคิดของเสียงส่วนใหญ่ เสียงส่วนใหญ่อาจจะยกให้ใครเป็นผู้ปกครองได้ แต่ก็เรียกอำนาจคืนได้เช่นกัน

สภาพสังคมหลังทำสัญญาประชาคม

เกิดสังคมที่เป็นหน่วยเดียวกัน ในข้อตกลงเดียวกัน ภายใต้การตัดสินโดยเสียงส่วนใหญ่ เพื่อรักษาสิทธิและเสรีภาพ เพื่อความสะดวก ปลอดภัยของทุกคน

การเรียกอำนาจคืนจากผู้มีอำนาจอธิปไตย

ทำได้เมื่อเสียงส่วนใหญ่ต้องการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น